วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

1.อาเซียนมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ที่มา www.thai-aec.com

ที่มา https://aecaseanfocus.wordpress.com

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม




2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ




3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้




4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม




5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม



6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก




7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส




8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ




9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว




10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย

2.ประเทศใดที่ก่อตั้งประเทศอาเซียน

ที่มา.www.uasean.com/




5ประเทศแรกอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียน (5ประเทศแรก)
ประเทศสมาชิกอาเซียน 
5 ประเทศแรก
(ASEAN Member States)



สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  Indonesia
Head of State : President Susilo Bambang Yudhoyono 
Capital : Jakarta 
Language : Indonesian
Currency : Rupiah



มาเลเซีย Malaysia
Head of Government : The Honourable Dato' Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak 
Capital : Kuala Lumpur 
Language(s) : Malay, English, Chinese, Tamil 
Currency : Ringgit 




สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Philippine
Head of State : President Benigno S. Aquino III
Capital : Manila 
Language(s) : Filipino, English, Spanish 
Currency : Peso



สาธารณรัฐสิงคโปร์ Singapore
Head of State : President S R Nathan 
Head of Government : Prime Minister Lee Hsien Loong 
Capital : Singapore 
Language(s) : English, Malay, Mandarin, Tamil 
Currency : S$ (Singapore Dollar)

อาเซียน ไทย


ราชอาณาจักรไทย   Thailand
Head of State : His Majesty King Bhumibol Adulyadej 
Head of Government : Prime Minister Abhisit Vejjajiva 
Capital : Bangkok 
Language : Thai 
Currency : Baht

3.อาเซียนเริ่มตั้งแต่วันที่เท่าไหร่

ที่มา.www.aec.kapook.com



th.co.th

     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "สมาคมอาเซียน" (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันลงนามใน "คำประกาศอาเซียน" (ASEAN Declaration) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่มเติมคือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ ทั้งนี้อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจาก สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาสา" (Association of Southest Asia - ASA) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2509 แต่ดำเนินมาได้ไม่นานก็ต้องหยุดชะงักเนื่องจากความผันผวนทางการเมือง ในที่สุดก็ยุบรวมเข้าเป็นสมาคมอาเซียน และดำเนินกิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ของอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้ประตัวแทนของประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเลขาธิการของสมาคม ล่าสุดอาเซียนได้แต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเลขาธิการคนใหม่ ซึ่งจะดำรงตำในวันที่ 1 มกราคม 2551 ที่จะถึง
 4.ธงชาติอาเซียนมีลักษณะอย่างไร
ที่มา.www.kan1.go.th

www.minprasatwitaya.ac.th

www.เกร็ดความรู้.net

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
5.เพลงอาเซียนมีชื่อว่าอะไร
ที่่มา.www.asean.bangkok.go.th


www.aec.kapook.com







          นับถอยหลังอีกเพียงแค่ 2 ปีเศษ ประเทศไทยก็จะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มตัวแล้ว และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอนำเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเพลงประจำชาติอาเซียน หรือ "The ASEAN Way" มาให้เพื่อน ๆ ทำความรู้จักและฝึกซ้อมร้องกันไปพลาง ๆ ก่อนค่า

          แต่เอ...หลายคนคงอดสงสัยไม่ได้เลยว่าเพลงประจำชาติอาเซียนมีความสำคัญอย่างไร และทำไมต้องมีด้วย? ทั้งนี้ ต้องขอบอกเลยว่า การมีเพลงประจำชาติอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นการสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับตัวแทนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียนนั่นเอง

แล้วจุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นได้อย่างไร?

          จุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการหารือในที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 29 ในเดือนมิถุนายน ปี 2537 ซึ่งในครั้งนั้นที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจำอาเซียน โดยกำหนดจะให้เปิดเพลงประจำอาเซียนในช่วงของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ทั้งนี้ ในเรื่องการสนับสนุนด้านการเงิน ที่ประชุมตกลงให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการเพื่อคัดเลือกเพลงประจำอาเซียน

          ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 32 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกเพลงในรอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และเพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ อย่างไรก็ดี เพลงดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากใช้เปิดเฉพาะในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซียและที่สิงคโปร์ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพ การประชุมจึงได้แต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง "ASEAN Our Way" และสิงคโปร์แต่งเพลง "Rise"

          อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2551 ได้มีการจัดประกวดเพลงประจำอาเซียนเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียน บทที่ 40 ซึ่งระบุให้อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition ทั้งนี้ อาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น และจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551

          สำหรับการตัดสิน มีคณะกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการประกวดได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลง ให้เข้ารอบสุดท้าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 99 เพลง และได้ดำเนินการประกวดรอบตัดสินเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยคณะผู้ตัดสินประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนในรอบแรก และจากประเทศนอกอาเซียนอีก 3 คน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศออสเตรเลีย

          โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง "The ASEAN Way" ของประเทศไทย ซึ่งประพันธ์โดยกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) สำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยได้รับเกียรติสูงสุดนี้ ทั้งนี้ เพลงประจำอาเซียนได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์




 The ASEAN Way

Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.

We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it's the way of ASEAN


 คำแปล

ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน


 เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล
6.ทำไมจึงต้องตั้งอาเซียนขึ้นมา
ที่มา.www.oknation.net



ทำไมถึงจำเป็นต้องตั้งอาเซียน
ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคน่าจะมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดความขัดแย้ง และส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพฯ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำหรับอาเซียน 7 ประการ ได้แก่
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ



อาเซียน

1.อาเซียนมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ที่มา www.thai-aec.com

ที่มา https://aecaseanfocus.wordpress.com

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม




2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ




3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้




4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม




5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม




6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก




7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส




8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ




9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว




10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย

2.ประเทศใดที่ก่อตั้งประเทศอาเซียน

ที่มา.www.uasean.com/




5ประเทศแรกอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียน (5ประเทศแรก)
ประเทศสมาชิกอาเซียน 
5 ประเทศแรก
(ASEAN Member States)



สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  Indonesia
Head of State : President Susilo Bambang Yudhoyono 
Capital : Jakarta 
Language : Indonesian
Currency : Rupiah



มาเลเซีย Malaysia
Head of Government : The Honourable Dato' Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak 
Capital : Kuala Lumpur 
Language(s) : Malay, English, Chinese, Tamil 
Currency : Ringgit 




สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Philippine
Head of State : President Benigno S. Aquino III
Capital : Manila 
Language(s) : Filipino, English, Spanish 
Currency : Peso



สาธารณรัฐสิงคโปร์ Singapore
Head of State : President S R Nathan 
Head of Government : Prime Minister Lee Hsien Loong 
Capital : Singapore 
Language(s) : English, Malay, Mandarin, Tamil 
Currency : S$ (Singapore Dollar)

อาเซียน ไทย


ราชอาณาจักรไทย   Thailand
Head of State : His Majesty King Bhumibol Adulyadej 
Head of Government : Prime Minister Abhisit Vejjajiva 
Capital : Bangkok 
Language : Thai 
Currency : Baht

3.อาเซียนเริ่มตั้งแต่วันที่เท่าไหร่

ที่มา.www.aec.kapook.com



th.co.th

     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "สมาคมอาเซียน" (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันลงนามใน "คำประกาศอาเซียน" (ASEAN Declaration) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่มเติมคือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ ทั้งนี้อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจาก สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาสา" (Association of Southest Asia - ASA) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2509 แต่ดำเนินมาได้ไม่นานก็ต้องหยุดชะงักเนื่องจากความผันผวนทางการเมือง ในที่สุดก็ยุบรวมเข้าเป็นสมาคมอาเซียน และดำเนินกิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ของอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้ประตัวแทนของประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเลขาธิการของสมาคม ล่าสุดอาเซียนได้แต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเลขาธิการคนใหม่ ซึ่งจะดำรงตำในวันที่ 1 มกราคม 2551 ที่จะถึง
 4.ธงชาติอาเซียนมีลักษณะอย่างไร
ที่มา.www.kan1.go.th

www.minprasatwitaya.ac.th

www.เกร็ดความรู้.net

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
5.เพลงอาเซียนมีชื่อว่าอะไร
ที่่มา.www.asean.bangkok.go.th


www.aec.kapook.com







          นับถอยหลังอีกเพียงแค่ 2 ปีเศษ ประเทศไทยก็จะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มตัวแล้ว และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอนำเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเพลงประจำชาติอาเซียน หรือ "The ASEAN Way" มาให้เพื่อน ๆ ทำความรู้จักและฝึกซ้อมร้องกันไปพลาง ๆ ก่อนค่า

          แต่เอ...หลายคนคงอดสงสัยไม่ได้เลยว่าเพลงประจำชาติอาเซียนมีความสำคัญอย่างไร และทำไมต้องมีด้วย? ทั้งนี้ ต้องขอบอกเลยว่า การมีเพลงประจำชาติอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นการสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับตัวแทนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียนนั่นเอง

แล้วจุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นได้อย่างไร?

          จุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการหารือในที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 29 ในเดือนมิถุนายน ปี 2537 ซึ่งในครั้งนั้นที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจำอาเซียน โดยกำหนดจะให้เปิดเพลงประจำอาเซียนในช่วงของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ทั้งนี้ ในเรื่องการสนับสนุนด้านการเงิน ที่ประชุมตกลงให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการเพื่อคัดเลือกเพลงประจำอาเซียน

          ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 32 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกเพลงในรอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และเพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ อย่างไรก็ดี เพลงดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากใช้เปิดเฉพาะในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซียและที่สิงคโปร์ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพ การประชุมจึงได้แต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง "ASEAN Our Way" และสิงคโปร์แต่งเพลง "Rise"

          อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2551 ได้มีการจัดประกวดเพลงประจำอาเซียนเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียน บทที่ 40 ซึ่งระบุให้อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition ทั้งนี้ อาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น และจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551

          สำหรับการตัดสิน มีคณะกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการประกวดได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลง ให้เข้ารอบสุดท้าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 99 เพลง และได้ดำเนินการประกวดรอบตัดสินเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยคณะผู้ตัดสินประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนในรอบแรก และจากประเทศนอกอาเซียนอีก 3 คน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศออสเตรเลีย

          โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง "The ASEAN Way" ของประเทศไทย ซึ่งประพันธ์โดยกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) สำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยได้รับเกียรติสูงสุดนี้ ทั้งนี้ เพลงประจำอาเซียนได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์




 The ASEAN Way

Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.

We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it's the way of ASEAN


 คำแปล

ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน


 เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล
6.ทำไมจึงต้องตั้งอาเซียนขึ้นมา
ที่มา.www.oknation.net



ทำไมถึงจำเป็นต้องตั้งอาเซียน
ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคน่าจะมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดความขัดแย้ง และส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพฯ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำหรับอาเซียน 7 ประการ ได้แก่
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ